
อนันตริยกรรม ๕ ๑. มาตุ ฆ า ต ฆ่. า มารดา ๒. ปิตุ ฆ า ต ฆ่. า บิดา ๓. อรหันต ฆ า ต ฆ่. า พระอรหันต์ ๔. โ ล หิ ต ุปบาท ทำ ร้ า ยพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระ โ ล หิ ต ให้ห้อขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด มาตุ ฆ า ต ปิตุ ฆ า ต อรหันต ฆ า ต ได้แก่การ ฆ่. า มารดา ฆ่. า บิดา ฆ่. า พระอรหันต์ ด้วยเจตนา คือจงใจ ฆ่. า แม้สำคัญผิดคิดว่าเป็นคนอื่นสัตว์อื่น ก็ไม่พ้นโทษอันชื่อว่า อนันตริยกรรม เพราะมีเจตนา จึงเป็นการ ฆ่. า ที่สมบูรณ์
โ ล หิ ต ุปบาท ได้แก่ทำ ร้ า ย คือพยายาม ฆ่. า พระพุทธเจ้า แต่ ฆ่. า ไม่สำเร็จ เพียงแต่ทำให้ บ า ด เ จ็ บ แม้เพียงพระ โ ล หิ ต ห้อ (โป่ง นูนช้ำเลือด) ขึ้น สังฆเภท ได้แก่ยังสงฆ์ให้แตกกัน คือทำลายพระสงฆ์ผู้พร้อม-เพรียงกัน ในสีมาเดียวกัน ในวัดใดวัดหนึ่ง ให้แตกเป็นก๊ก จนถึงไม่ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ต้องแยกออกทำอุโบสถสังฆกรรม หรือปวารณา-กรรม หรือสังฆกรรมอื่นๆ เป็น ๒ หมู่
กรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ แต่ละอย่างๆ จัดเป็นบาปอันหนักที่สุดเพราะมาดา บิดา เป็นผู้มีพระคุณต่อบุตรมากที่สุด บุตรใด ฆ่. า มารดาบิดาผู้บังเกิดเกล้าของตนได้ ก็นับว่าเป็นคนเลวคนชั่วที่สุด เขาย่อม ฆ่. า คนอื่นๆ ได้แน่นอน พระอรหันต์ เป็นผู้หมดจดจากกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง เป็นนาบุญสูงสุดของชาวโลก ผู้ใด ฆ่. า พระอรหันต์ได้ก็นับว่าเป็นคนเลวคนชั่วที่สุด เขาย่อม ฆ่. า คนอื่นที่ยังมีกิเลสได้อย่างแน่นอน
กรรมเหล่านี้ ชื่อว่า “อนันตริยกรรม” แปลว่า กรรมที่ไม่มีระหว่าง คือผู้ใดทำเข้าแล้ว แม้จะทำกรรมดีต่างๆ ลบล้าง ก็ไม่อาจลบล้างได้ ผู้นั้น ต. า ย ลง คงได้รับผลของกรรมนี้ทันที ไม่มีผลของกรรมอื่นมาคั่นในระหว่างตัวอย่างเช่น พระเจ้าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิ ส า ร ผู้เป็นพระชนก ภายหลังทรงสำนึกผิด จึงทรงสร้างกรรมดีเป็นอันมาก ทรงเป็นศาสนูปถัมภก ในคราวปฐมสังคายนา ซึ่งนับว่ามีอุปการคุณต่อพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง สมควรจะได้เป็นพระอริยะแต่ก็ไม่ได้เป็น พอสิ้นพระชนม์ก็ต้องตกนรกทันที ผลของกรรมดีนั้นช่วยให้พ้นจากขุมนรกที่จะต้องตกเพราะปิตุ ฆ า ต ได้เพียงชั้น ๑ เท่านั้น
ขอบคุณที่มาข้อมูล อินเตอร์เน็ต